ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ทุบสถิติของละครแห่งประเทศไทยลงไปอย่างสวยสดงดงามสำหรับละครขอนางเอกสาวขวัญใจของ Admin ใหม่ดาวิกาที่ทำเอาละครวันทองโดยเฉพาะในตอนจบพุ่งพรวดทั่วประเทศไปถึง 7.76 7

และจะแยกเป็นเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลก็ปาไปถึง 9280 แล้วมาเป็นสถิติของละครไทยที่สูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมากันเลยทีเดียวอย่างไรก็ตามมีข้อสงสัยหลายด้านเกี่ยวกับตัวละครในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนนางนี้ก็คือนางวันทองมีตัวตนจริงๆหรือไม่

wanthong2

นางวันทองนั้นมีชื่ออีกชื่อหนึ่งก็คือนางพิมพิลาไลย ในข้อมูลที่ค้นได้จากไซต์ Google เกี่ยวกับตัวละครตัวนี้พบว่านางพิมพิลาไลยนั้นจัดเป็นหญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามแต่ปากจัด ซึ่งถ้าเทียบแล้วใหม่ดาวิกาทำได้ดีที่สุดในเรื่องความสวยงามและนำมาเป็นนางเอกละครไทยที่ Admin ชื่นชอบเป็นอย่างมากแต่สำหรับเรื่องปากจัดนั้นไม่อยากจะให้ปากจัดเลยเพราะมันจะไม่ทักคนที่น่ารักมาก 

 “ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแม้น อรชนอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา ผมสลวยสวยขำดำเป็นเงา ให้ชื่อว่าเจ้าพิมพิลาไลย”

  • นางพิมพิลาไลย เป็นหญิงรูปงาม แต่ปากจัด พ่อชื่อ พันศรโยธา แม่ชื่อ นางศรีประจัน ต่อมารได้แต่งงานกับพลายแก้ว ซึ่งภายหลังมีลูกชายด้วยกัน คือ พลายงาม ครั้นพลายแก้วไปทำสงคราม นางก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจู วัดป่าเลไลย ตรวจดูดวงชะตาและแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น นางวันทอง อาการไข้จึงหายต่อมานางถูกแม่บังคับให้แต่งงานใหม่กับขุนช้าง นางต้องถูกประณามว่าเป็นหญิงสองใจ เมื่อมีคดีฟ้องร้องถึงสมเด็จพระพันวษา และพระองค์ให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใคร แต่นางตัดสินใจไม่ถูกจึงถูกสั่งให้ประหารชีวิต
  • นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า

  "ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"

  • เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย นางวันทอง เดิมชื่อนางพิมพิลาไลย เป็นนางเอกในเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน (เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อแก้เคล็ดให้หายป่วย ตอนขุนแผนไปรบ) นางถูกยื้อไปแย่งมาระหว่างขุนแผน และขุนช้าง จนในที่สุดพระพันวษาต้องให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใครระหว่างขุนแผนหรือขุนช้าง แต่นางวันทองก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะแม้ขุนแผนจะเจ้าชู้จนมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งหึงหวงกันอยู่เสมอ แต่ก็เป็นรักแรกและยังมีลูกด้วยกันคือพลายงามอีกด้วย



ลักษณะนิสัย

              เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย

wanthong3

               นางวันทอง มีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://sites.google.com/site/khunchangkhungphaen/taw-lakhr-ni-reuxng-khun-chang-khunphaen/nang-phimphi-la-liy-hrux-wan-thxng



นางวันทองมีจริงไหม | สำหรับข้อมูลบางส่วนจากไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2073608

 

เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน และนางวันทอง คือ หนึ่งในวรรณคดีไทยที่หลายคนรู้จักกันดี ใช้เป็นแบบเรียนของนักเรียนระดับชั้นต่างๆ ความงดงามด้านวรรณศิลป์ และเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ชวนติดตาม ทำให้ขุนช้างขุนแผนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และบทละครอยู่บ่อยครั้ง 

โดยเฉพาะ "วันทอง" ละครโทรทัศน์ที่เพิ่งลาจอไป พร้อมกับการตีความฉบับใหม่ ยิ่งทำให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างอีกครั้ง เคยสงสัยกันไหมว่า "ขุนช้าง" และ "ขุนแผน" ที่เราเคยได้ยินชื่อมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ จริงๆ แล้วมีความเป็นมาอย่างไร และตัวละครหลักในเรื่องขุนช้างขุนแผน มีตัวตนในประวัติศาสตร์จริงไหม?

 

เรื่องย่อขุนช้างขุนแผน มหากาพย์รักสามเส้า ที่คนไทยรู้จักกันดี

ขุนช้างขุนแผน เล่าเรื่องราวของ "พิมพิลาไลย" หญิงสาวรูปงามแห่งเมืองสุพรรณบุรี (จังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) ที่ความสวยเป็นเหตุทำให้ชะตาชีวิตของเธอต้องเจอเรื่องร้ายๆ เพราะพิมพิลาไลยมีผู้ชาย 2 คน แอบหมายปอง ได้แก่ "พลายแก้ว" หนุ่มรูปงาม มีความรู้ด้านวิชาอาคม และ "ขุนช้าง" ชายหนุ่มรูปร่างอ้วน ศีรษะล้าน บุตรชายเศรษฐีตระกูลมั่งคั่ง 

ต่อมาพลายแก้ว ได้มาสู่ขอพิมพิลาไลย อยู่กินเป็นสามี-ภรรยา แต่แล้วสมเด็จพระพันวษา เรียกตัวพลายแก้วให้ยกทัพไปปราบศึกที่เชียงใหม่ และเลื่อนยศให้เป็น "ขุนแผน" แต่เมื่อขุนแผนกลับเมืองสุพรรณ กลับนำหญิงสาวคนอื่นกลับมาด้วย ทำให้พิมพิลาไลยไม่พอใจ ขุนแผนจึงพาผู้หญิงคนใหม่ไปอยู่ด้วยกันที่เมืองกาญจน์แทน

ระหว่างนั้นพิมพิลาไลยตรอมใจจนป่วยไข้ จึงเปลี่ยนชื่อแก้เคล็ดเป็น "วันทอง" เมื่อขุนแผนห่างหายไปนาน ทำให้ "ขุนช้าง" ซึ่งแอบหลงรักวันทองมานาน ออกอุบายว่าขุนแผนตายในสนามรบ และตนจะสู่ขอวันทองมาเป็นภรรยาเพื่อไม่ให้ต้องกลายเป็นแม่ม่าย

เรื่องราววุ่นวายมากขึ้น เมื่อขุนแผนกลับมาแล้วรู้ความจริง จนกลายเป็นศึกชิงนางระหว่าง 2 เพื่อนรัก ทำให้ขุนช้างตัดสินใจถวายฎีกาต่อสมเด็จพระพันวษา แต่เรื่องราวกลับตาลปัตรเมื่อวันทองถูกมองเป็นหญิงสองใจ และนำไปสู่การถูกประหารในที่สุด

 

ประวัติขุนช้างขุนแผน เรื่องจริง หรือเรื่องแต่ง?

ขุนช้าง ขุนแผน และนางวันทอง เป็นตัวละครที่ปรากฏอยู่ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน หรือที่เรียกกันว่า "ขุนช้างขุนแผน" จัดเป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่คนไทยรู้จักมากที่สุด โดยเนื้อเรื่องประพันธ์ด้วยบทกลอน เรียงร้อยเป็นเรื่องราวที่มีตัวละครหลักเป็น 1 หญิง 2 ชาย จนทำให้เกิดศึกชิงนาง และเรื่องราวรักสามเส้าทำลายมิตรภาพของพวกเขา สำหรับที่มาของขุนช้างขุนแผน แบ่งออกเป็น 2 ข้อสันนิษฐานหลัก ดังนี้

 

1. เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ข้อสันนิษฐานแรกยึดตามหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า เชื่อว่าขุนช้างขุนแผนถูกสร้างมาจากเค้าโครงเรื่องจริง ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกลายเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาหลายร้อยปี

โดยในเสภาขุนช้างขุนแผน มีการเอ่ยชื่อ "สมเด็จพระพันวษา" ซึ่งเชื่อว่าหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034 - 2072) พระมหากษัตริย์องหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย "ขุนแผน" เป็นทหารเอกของพระพันวษาที่ออกรบปราบกบฏที่เมืองเชียงใหม่

 

2. เรื่องเล่าของคนในคุก 

แม้คำว่า "เสภา" ที่เรารู้จักกันจะหมายถึง กลอนเรื่องเล่าขนาดยาว ที่มีการตีจังหวะประกอบ แต่คำนี้ยังสามารถแปลว่า "คุก" ได้อีกด้วย ก็อาจเป็นไปได้ว่าขุนช้างขุนแผนคือเรื่องเล่าของคนในคุก ที่ใช้เวลาว่างเล่าเรื่องสนุกกัน โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าตัวละครขุนแผน ก็เคยเป็นนักโทษอยู่ในคุกเช่นเดียวกัน เมื่อออกมาจากคุกก็กลายเป็นเรื่องเล่าที่นิยมเล่าสืบต่อกันมา 

จากเรื่องเล่าสู่ "บทเสภาขุนช้างขุนแผน" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ ถูกนำมาประมวลเป็นบทเสภาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บางตอนด้วยพระองค์เองด้วย

 

อีกทั้งโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือสุนทรภู่ เป็นผู้ประพันธ์เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งเป็นตอนที่มีชื่อเสียงที่สุด และได้กลายมาเป็นแบบเรียนไทยในปัจจุบัน

เสภาขุนช้างขุนแผน และเรื่องนางวันทอง เป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นวิถีชีวิต คติความเชื่อ และแนวคิดของผู้คนในอดีตได้เป็นอย่างดี แต่ในอีกแง่หนึ่งก็สะท้อนถึงสภาพสังคมชายเป็นใหญ่ และการลิดรอนเสรีภาพของผู้หญิง ซึ่งมีส่วนทำให้ตัวละครวันทองถูกตราหน้าว่าเป็นหญิงสองใจนั่นเอง

ที่มาของข้อมูลและภาพ : ช่อง One31

powered by social2s
รถตู้ให้เช่า จ.เลย หนองบัวลำภู

วิดีโอน่าสนใจ

Go to top